เมกเกอร์เพลย์กราวน์
ภาษาไทย
ภาษาไทย
  • เริ่มต้นอย่างง่าย
  • บทนำ
    • แนะนำซอฟต์แวร์
    • ขั้นตอนการติดตั้ง
    • ส่วนประกอบของซอฟต์แวร์
      • อุปกรณ์
        • หน้าตั้งค่าอุปกรณ์
        • หน้าค้นหาอุปกรณ์
        • การใช้งานหน้าต่างอุปกรณ์
      • โหมดทดลองแบบตอบโต้
      • เมกเกอร์เพลย์กราวน์ไดอะแกรม
        • Scene
        • Condition
        • Begin
      • ระบบมอนิเตอร์
    • เชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT
      • ใช้งานร่วมกับ Blynk
        • เตรียมพร้อมการใช้งาน Blynk
        • ตัวอย่าง 1 - ทดลองแสดงผลค่าผ่าน Gauge บน Blynk
        • ตัวอย่าง 2 - ทดลองสร้างสวิทช์เปิดปิดและปรับความสว่างหลอดไฟผ่าน Blynk
      • ใช้งานร่วมกับ NETPIE
        • การสมัครใช้งาน NETPIE
        • การสร้างแอปพลิเคชัน NETPIE
        • การสร้างแดชบอร์ดด้วย NETPIE Freeboard
        • ทดลองแสดงผลค่าจาก POT ผ่าน Gauge บน Freeboard
    • คำถามที่พบบ่อย
Powered by GitBook
On this page
  • แนะนำซอฟต์แวร์
  • เมกเกอร์เพลย์กราวน์คืออะไร?
  • การติดตั้ง
  • เริ่มต้นใช้งานใน 5 นาที

Was this helpful?

เริ่มต้นอย่างง่าย

Nextแนะนำซอฟต์แวร์

Last updated 5 years ago

Was this helpful?

แนะนำซอฟต์แวร์

เมกเกอร์เพลย์กราวน์คืออะไร?

เมกเกอร์เพลย์กราวน์เป็นซอฟต์แวร์สำหรับพัฒนาระบบสมองกลฝังตัวและ IoT แบบครบวงจร ตั้งแต่ขั้นตอนของการทดสอบและเรียนรู้การทำงานอุปกรณ์, การออกแบบการเชื่อมต่อวงจร, การเขียนโปรแกรมควบคุมอุปกรณ์และการอัพโหลดโปรแกรมไปยังบอร์ด เมกเกอร์เพลยกราวน์ใช้การต่อไดอะแกรมเพื่ออธิบายผลลัพธ์การทำงานที่ต้องการ จากนั้นระบบจะทำการสร้างซอร์สโค้ดและภาพแสดงการเชื่อมต่อวงจรให้สำหรับบอร์ดพัฒนาหลากหลายแพลตฟอร์มอาทิบอร์ด Arduino (AVR), บอร์ดพัฒนาที่ใช้ชิป ESP8266 และ ESP32 และบอร์ด Raspberry Pi

การติดตั้ง

ดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ได้จาก สำหรับขั้นตอนการติดตั้งโดยละเอียดสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากลิงค์ด้านล่าง

เริ่มต้นใช้งานใน 5 นาที

1. เลือกแพลตฟอร์มและคอนโทรลเลอร์ที่ต้องการเช่นแพลตฟอร์ม Arduino (AVR8) และบอร์ด Arduino UNO

2. เลือกอุปกรณ์จากแถบ Device Explorer โดยกดเครื่องหมาย + ที่มุมขวาบนเพื่อทำการเพิ่มอุปกรณ์ โดยในตัวอย่างนี้จะเลือกเป็นหลอดไฟ LED ภายหลังจากที่กด + จะเห็นภาพเบรดบอร์ดและหลอดไฟ LED ปรากฏขึ้นในด้านขวาดังรูป

เครื่องหมายตกใจรูปสามเหลี่ยมจะปรากฏขึ้นที่แถบ Device เมื่อพบการตั้งค่าอุปกรณ์ยังไม่สมบูรณ์เช่นในกรณีที่เลือกอุปกรณ์ที่ไม่รองรับการทำงานตามไดอะแกรมหรือเมื่อยังไม่ได้เลือกพอร์ตเชื่อมต่อให้กับอุปกรณ์

3. เลือกพอร์ตเชื่อมต่อโดยกลับไปยังแถบ Device Configuration และเลือกพอร์ตเชื่อมเชื่อมต่อด้วยตนเองหรือกดปุ่ม Auto Select เพื่อให้ระบบเลือกพอร์ตที่เหมาะสมให้ โดยเมื่อเลือกพอร์ตเชื่อมต่อครบถ้วนจะเห็นภาพวงจรที่สมบูรณ์ดังภาพด้านขวาและเครื่องหมายตกใจรูปสามเหลี่ยมจะหายไปจากแถบ Device

สำหรับขั้นตอนการตั้งค่าอุปกรณ์โดยละเอียด สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากลิงค์ด้านล่างนี้

โหมดทดลองแบบโต้ตอบสามารถใช้สั่งงานอุปกรณ์หรืออ่านค่าจากเซนเซอร์ทุกประเภทได้ในทันที ซึ่งช่วยลดขั้นตอนของการติดตั้งไลบารี่ เขียนโค้ด อัพโหลดโปรแกรมลงบอร์ดและอ่านค่าจาก Serial Monitor ซึ่งจะต้องทำซ้ำ ๆ หลาย ๆ รอบสำหรับอุปกรณ์แต่ละตัว

สำหรับขั้นตอนการใช้โหมดทดลองแบบโต้ตอบโดยละเอียด สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากลิงค์ด้านล่างนี้

6. ขั้นตอนต่อไปจะทำการทดลองพัฒนาโปรแกรมไฟกระพริบเปิด-ปิดทุก ๆ 1 วินาทีแบบอัตโนมัติ โดยเปลี่ยนไปที่แถบ Diagram เพื่อเริ่มต้นวาดไดอะแกรมอธิบายการทำงานของอุปกรณ์ จากนั้นจึงกดที่ปุ่ม Add Scene เพื่อเพิ่มบล็อกซีนใหม่แล้วจึงเลือกเพิ่ม LED1 เข้าไปในซีน

7. เพิ่มบล็อกซีนอีกอันหนึ่งเพื่อโดยในรอบนี้ให้กดที่กล่องของ LED1 เพื่อตั้งค่า Action ให้เป็น Off ดังภาพ

จะได้ไดอะแกรมดังรูป

8. เพิ่มบล็อกดีเลย์ระหว่างบล็อกซีนทั้งสองเพื่อให้ระบบรอเวลาก่อนเริ่มทำงาน Scene2 เพื่อสั่งให้ไฟปิด

9. ทำซ้ำอีกครั้งหนึ่งและตั้งค่าเวลาที่ต้องรอเป็น 1 วินาที

10. เชื่อมต่อบล็อกทั้งหมดเข้าด้วยกัน จะได้ไดอะแกรมที่สมบูรณ์ดังภาพ

11. กดปุ่มอัพโหลดที่มุมขวาบน เมื่ออัพโหลดสำเร็จสามารถดูผลลัพธ์การทำงานบนบอร์ดได้ทันที

สำหรับวิธีการเชื่อมต่อไดอะแกรมโดยละเอียด สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากลิงค์ด้านล่างนี้

4. เชื่อมต่ออุปกรณ์ตามภาพและทดลองการทำงานของอุปกรณ์โดยเลือกพอร์ตที่เชื่อมต่อบอร์ดเข้ากับคอมพิวเตอร์แล้วจึงกดปุ่ม เพื่อเริ่มต้นการทำงานของโหมดทดลองแบบโต้ตอบ (Interactive Mode)

5. เมื่อการอัพโหลดเฟิร์มแวร์เสร็จสิ้นปุ่ม จะเปลี่ยนเป็นปุ่ม และสามารถกดที่ภาพอุปกรณ์เพื่อเปิดหน้าต่างตั้งค่าและตั้งค่า Action เช่นในที่นี้จะทดลองกำหนดให้เป็น On ด้วยค่า Brightness (ความสว่าง) ที่ 100% จากนั้นจึงกดปุ่ม ที่มุมขวาบนของหน้าต่างป๊อปอัพเพื่อดูผลลัพธ์การทำงานบนบอร์ดจริงในทันที โดยสามารถทดลองเปลี่ยน Action เป็น Off เพื่อสั่งงานให้หลอดไฟปิดหรือปรับค่า Brightness เพื่อดูผลลัพธ์ได้ในทันที

อุปกรณ์
โหมดทดลองแบบตอบโต้
เมกเกอร์เพลย์กราวน์ไดอะแกรม
www.makerplayground.io
ขั้นตอนการติดตั้ง